ผ้ายืด หรือ ผ้าถัก (knitted fabrics)

ประเภทของผ้า (Fabrics)

ผ้า (Fabrics) คือ วัสดุที่มีลักษณะเป็นแผ่นแบน สามารถผลิตจากสารละลาย เส้นใย เส้นด้าย หรือวัสดุพื้นฐานเหล่านี้รวมกัน

แบ่งได้ 2 แบบคือ แบ่งตามลักษณะการถักทอ และแบ่งตามเนื้อผ้าหรือเส้นใยผ้า

การแบ่ง ผ้า (Fabrics)  ตามลักษณะการทอนั้นจะแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท คือ

  1. ผ้ายืด หรือ ผ้าถัก (knitted fabrics)
  2. ผ้าทอ (woven fabrics)
  3. ผ้าที่มีวิธีการผลิตแบบอื่น

 

ผ้ายืด หรือ ผ้าถัก (knitted fabrics)

       ผ้ายืด เกิดจากการทอผ้าในลักษณะใช้เข็ม (needles) ถัก เพื่อให้เกิดเป็นห่วงของด้ายที่มีการสอดขัดกัน (interlocking loops) โดยจะมีเส้นที่อยู่แนวตั้ง (Wales) และเส้นที่อยู่ในแนวนอน (courses)เป็นเส้นด้ายร้อยกันไปมาและทอผ้ายืดแบบถักนี้ ขึ้นรูปเป็นวงกลมโดยใช้เครื่องทอผ้าแบบวงกลม (Circular knitting machine) ซึ่งจะได้เสื้อที่ออกมาไม่มีรอยตัดด้านข้างตัวมีลักษณะเหมือนผ้าถุงหรือโสร่งที่ไม่มีรอยเย็บด้านข้าง

       ประเภทของผ้ายืด/ผ้าถัก

  • Filling-Knit fabrics เช่น Jersey, Rib structure, Interlock structure, Purl knits
  • Warp knit fabrics เช่น tricot warp knit, Raschel warp knit, Simplex, Milanese

ผ้าทอ (woven fabrics)

เป็นผ้าที่เกิดจากกระบวนการทอโดยใช้เครื่องทอ (weaving loom) โดยมีเส้นยืน (warp yarn) และเส้นพุ่ง (filling or weft yarn) ที่ทอขัดในแนวตั้งฉากกัน และจุดที่เส้นทั้งสองสอดประสานกัน (interlacing) จะเป็นจุดที่เส้นด้ายเปลี่ยนตำแหน่งจากด้านหนึ่งของผ้าไปด้านตรงข้าม การทอในปัจจุบันมีการพัฒนา จากการทอด้วยมือ (hand looms) ไปเป็นการใช้เครื่องจักรในการทอ โดยใช้เทคนิคหลากหลายรูปแบบ แตกต่างกัน เช่น Air-jet loom, Rapier loom, Water-jet loom, Projectile loom, Double-width loom, Multiple-shed loom, Circular loom, Triaxial loom

       ผ้าทอแบ่งเป็นหลายชนิดขึ้นกับลักษณะการทอ เช่น Plain, Basket, Twill, Satin, Crepe, Dobby, Jacquard, Doublecloth, Pile, Slack-tension, Leno, และ Swivel

ผ้าที่มีวิธีการผลิตแบบอื่น

       เป็นผ้าที่เกิดจากกระบวนการผลิตอื่นที่นอกเหนือไปจากการถักและทอ เช่นการขึ้นรูปเป็นแผ่นฟิล์มทั้งจากสารละลายและจากการฉีดพลาสติกหลอม การขึ้นรูปเป็นโฟมและการขึ้นรูปเป็นผ้าจากเส้นใยโดยตรง เรียกว่า ผ้าไม่ถักไม่ทอ (nonwovens)

 

การแบ่ง ผ้า (Fabrics)  ตามลักษณะเนื้อผ้า แบ่งออกได้ 3 ประเภท คือ

  1. ผ้าฝ้าย (cotton)
  2. ผ้าฝ้ายผสมกับผ้าใยสังเคราะห์ (TC)
  3. ผ้าใยสังเคราะห์ (TK)

ผ้าฝ้าย (cotton)

นิยมใช้ทำเสื้อชนิดต่างๆ มีราคาค่อนข้างสูง คุณสมบัติทั่วไปของผ้าฝ้ายก็คือ สวมใส่สบาย ระบายอากาศได้ดี ซับเหงื่อได้ดีเยี่ยม เนื้อผ้าจะมีลักษณะด้าน แต่ก็มีข้อเสียอยู่เหมือนกัน คือมันจะยับง่าย เมื่อซักบ่อยๆ ก็จะย้วย

ผ้าฝ้ายผสมกับผ้าใยสังเคราะห์ (TC)

เป็นผ้าที่มีส่วนผสมเป็นใยสังเคราะห์ และนำเนื้อฝ้ายเข้ามาผสมรวมด้วย คุณสมบัติก็จะอยู่กลางระหว่างผ้า cotton กับผ้า TK ผ้าชนิดนี้นิยมทอผ้าให้มีลักษณะเป็นรู เนื่องจากผ้าประเภท TK และ TC มีสมบัติในการระบายอากาศที่ไม่ค่อยดีนัก การทอผ้าจึงนิยมทอผ้าให้มีรูเล็กๆ เพื่อช่วยระบายอากาศ และเพื่อความสบายในการสวมใส่เนื้อผ้า จะมีลักษณะความมัน แต่น้อยกว่า TK

ผ้าใยสังเคราะห์ (TK)

เป็นผ้าที่มีส่วนผสมหลักเป็นใยสังเคราะห์ เนื้อผ้าจะมีลักษณะมันคุณสมบัติ ทั่วๆไป คือ ผ้า TK จะไม่ค่อยยับ อยู่ทรง ไม่ย้วย สีไม่ตกแต่ข้อเสียก็คือเสื้อที่ทำจากผ้า TK ใส่แล้วจะร้อนเนื่องจากระบายอากาศไม่ดีผ้า TK จึงนิยมทอ ให้มีลักษณะเป็นรูเช่นกัน ทนทานหาได้ง่ายและวางขายตามท้องตลาด เดี๋ยวมาว่ากันเรื่องเบอร์และน้ำหนักของผ้าแต่ละชนิดในบทความหน้าครับ แหมวางภาพลำบากมากในบล็อกเลยไม่ค่อยมีตัวอย่างให้ดู

 

 

 

 

P5240145

มาทำความรู้จักกับผ้ายืด (knitted fabrics) กันเถอะ

ว่าด้วยเรื่องของผ้ายืดหรือผ้าถัก (knitted fabrics) ประกอบด้วย โครงสร้างผ้าประเภท  ผ้าฝ้าย (cotton), ผ้าฝ้ายผสมกับผ้าใยสังเคราะห์ (TC), และ ผ้าใยสังเคราะห์ (TK) แล้วก็มาทอผ้าแบบถัก (knit) ซึ่งผ้ายืดแบบ Knit นั้นก็มาแบ่งย่อยได้อีกต่อหนึ่ง ซึ่งจะแยกย่อยออกตามเบอร์ของเส้นด้ายที่นำมาทอผ้ายืด วิธีการทอผ้ายืดและน้ำหนักของผ้ายืด ซึ่งแบ่งได้ตามโครงสร้างดังต่อไปนี้

  1. Jersey เป็นผ้ายืดที่นิยมนำมาทำเป็นเสื้อยืด T-shirt ตามท้องตลาดทั่วไป เสื้อยืดที่มีลายพิมพ์ที่หน้าอกหรือที่อื่นหรือจะไม่มีลายเป็นผ้าสีเดียวเลยก็เหมือนกัน แบ่งได้ตามน้ำหนักและเบอร์ของเส้นด้าย
  2. RIB หรือเรียกว่า ผ้าหล่อบุ้ง จะมีรูปแบบย่อยในการทออีกเช่น Rib1x1, Rib2x2 ซึ่งจะได้รูปแบบข้องผ้ายืดที่่มีแนวแตกต่างกันไป เหมาะสำหรับการทำ คอเสื้อยืด หรือเสื้อผู้หญิงที่มีความยืดหยุ่น
  3. Lacoste  ผ้ามีลักษณะเป็นตาๆ เหมาะสำหรับทำเสื้อโปโล เกิด effect จากการทำชักเข็ม
  4. จูติ ผ้าลักษณะคล้ายกับ Lacoste เหมาะสำหรับทำเสื้อโปโล ต้องดูจากตัวอย่างผ้าจริงจะเห็นความแตกต่างชัดเจน
  5. Interlock ผ้าลักษณะคล้ายกับ Lacoste เหมาะสำหรับทำเสื้อโปโล ต้องดูจากตัวอย่างผ้าจริงจะเห็นความแตกต่างชัดเจน
  6. การทอสลับ การ นำเราเส้นด้าย 2 ตัวขึ้นไปมาทอสลับที่ความถี่สูงๆ ทำให้ผ้ายืดที่ได้ออกมามีลวดลายที่ไม่ต่างจากการทอเต็มนัก แต่สามารถลดต้นทุนเส้นด้ายได้ส่วนหนึ่ง ถ้ามีการทอสลับกันระ ห่างเส้นด้ายราคาถูก และเส้นด้ายราคาแพง
  7. การทอริ้ว มี 2 แบบ คือ ใช้เส้นด้ายย้อมสีมาทอขัดกันระหว่างสีหนึ่งกับอีกสีหนึ่ง หรือใช้เส้นด้ายต่างชนิด ที่มีความสามารถในการดูดกลืนสีที่ต่างกันมาทอคู่กัน เพื่อให้ได้ลวดลายแบบการทอริ้ว
  8. การทอ Body Size คือการทอกลมแบบที่ให้ได้ผ้ายืดที่ได้ออกมามีขนาดเท่ากับตัวเสื้อ โดยไร้ตะเข็บ เพราะว่าผ้า ซึ่งทำให้ง่ายต่อการตัดเย็บและสวมใส่สบาย

 

 

 

 

5480_edited

เครื่องทอผ้ายืด / เครื่องทอกลม (circular knitting machine) คืออะไร

การทอผ้ายืด (knitted fabrics) เป็นผ้าที่เกิดจากการถักในรูปแบบเป็นห่วงคล้องคล้ายลูกโซ่ เช่น ผ้าที่ได้มาจากการถักKnitting หรือCrochet เป็นการทอผ้า โดยใช้เครื่องทอกลม (circular knitting machine)

เครื่องทอกลม (circular knitting machine) หรือเรียกว่า เครื่องทอผ้ายืด หรือ เครื่องถักผ้ายืด หรือ เครื่องทอนิตติ้งกลม คือ ขบวนการที่สำคัญในอุตสาหกรรมสิ่งทอ เป็นกระบวนการทอเส้นด้าย (Yarn) เป็นผ้าผืน มีการเอากระสวยเส้นด้ายจำนวนมากมาวางรอบๆเครื่อง เช่น 100 ลูก หรือ 120 ลูก โดยเส้นด้ายจำนวนมากจากหลาย ๆ กระสวย จะถูกดึงเข้าเครื่องถักขึ้นไปยังเข็มทอ feeder และถูกทอเป็นผืนผ้า โดยหลักการถักเป็นวงกลมตามรอบการหมุนของเครื่องจักร

PNT Knitting CO.,LTD เลือกใช้เครื่องทอผ้ายืดที่ทันสมัย เช่น Single Jersey, Interlock, Rib, French terry, ขนหนู 2 หน้า, Mini Jacquard, Body size ฯลฯ เพื่อความสามารถในการรับจ้างทอผ้ายืด (knitted fabrics) ที่หลากหลาย

array-bright-color-5872

รับจ้างทอผ้ายืดทุกชนิด กับ PNT Knitting CO.,LTD

เราคือโรงงานรับจ้างทอผ้ายืดที่มีคุณภาพและสามารถทอผ้ายืดได้หลากหลายประเภทที่คุณต้องการ  รายชื่อตัวอย่าง ผ้ายืดคุณภาพ ที่ผลิตจากโรงงานของเรา การันตีด้วยความชำนาญและประสบการณ์ยาวนาน กว่า 30 ปี

ผ้าหน้าเดียว / ผ้าซิงเกิ้ล เจอร์ซีย์ (Single Jersey)

ผ้าท็อปดาย (Top Dyed)

ผ้าหล่อบุ๊ง / ผ้าริบ / ผ้าชักร่อง (RIB)

ผ้ากำมะหยี่ (Velvet Fabric)

ผ้าขูดขน (Brushing fabric / Short hair fabric)

ผ้ากีฬา (Sportswear Fabric)

ผ้าดาวกระจาย (Pointelle Mesh)

ผ้าวอร์ม (Double Knit Fabric)

ผ้าเม็ดข้าวสาร (Close Mesh Fabric)

ผ้าไนกี้รู

ผ้าเรียบ / ผ้าไมโครเรียบ (Interlock)

ผ้าเผ่งบุ๊ง / ผ้าสองหน้า

ผ้าขนหนู (Terry Fabric) / ผ้าขนหนูสักหลาด

ผ้าตาข่าย (Mesh Fabric)

ผ้าปีเก้ / ผ้าลาครอส / ผ้าจูติ / ผ้ารังผึ้ง (Lacoste / Pique Fabric/ Honey comb)

ผ้าพิมพ์ (Print Fabric)

ผ้าฟลีซ (Fleece Fabric)

ผ้าสเวตเตอร์ (Sweater Fabric)

ผ้าสเวตเตอร์ฟลีซ (Sweater Fleece Fabric)

ผ้าเกล็ดปลา (French Terry Fabric)

ผ้าแจ็คการ์ด (Jacquard Fabric)

ผ้าแซนวิซ / ผ้ายัดใส้ / ผ้าเวเฟอร์ (Sandwich Fabric)

ผ้าเทอโม

ผ้าลายฉลุ

ผ้าไฮเกรด

ผ้าลายสก็อต

ผ้าแฟชั่น (Fashion Fabric)

ผ้าแฟนซี (Fancy Fabric )

ผ้าบอดีไซส์ (Body Size)

Picture2

การทอผ้ายืดแบบ Jersey

Jersey เป็นผ้ายืดที่นิยมนำมาทำเป็นเสื้อยืด T-shirt ตามท้องตลาดทั่วไป เสื้อยืดที่มีลายพิมพ์ที่หน้าอกหรือที่อื่นหรือจะไม่มีลายเป็นผ้าสีเดียวเลยก็เหมือนกัน แบ่งได้ตามน้ำหนักและเบอร์ของเส้นด้าย ตามนี้

น้ำหนักและเบอร์ของเส้นด้าย

  1. Single jersey 32/1 หมายถึงการทอผ้ายืดด้วยเส้นด้ายเบอร์ 32 ส่วน /1 หมายถึงการทอผ้าเส้นเดี่ยว ที่ใช้เส้นด้ายเส้นเดียวในการทอผ้ายืด สำหรับผ้า single jersey 32/1 น้ำหนักมาตรฐานจะอยู่ที่ 155-165 gram(glm) /sqm ซึ่งวิธีการชั่งน้ำหนักผ้ายืดจะใช้วิธีใช้เครื่องปั๊มแกรมที่เป็นวงกลมตัดผ้าออกมาแล้วนำไปชั่ง ถ้าน้ำหนักเบากว่ามาตรฐาน มักจะมีปัญหาในการยืดหดตัวหรือย้วยชายได้ตอนตัดเป็นเสื้อผ้าสำเร็จรูป
  2. Single jersey 32/2 จะได้ผ้ายืดที่หนากว่าแบบทอเส้นเดี่ยว แต่จะทำให้ต้นทุนผ้ายืดมีราคาสูงขึ้น ซึ่งแบรนด์แฟชั่นระดับสูงนิยมใช้กัน
  3. Single jersey 20/1 น้ำหนักมาตรฐานจะอยู่ที่ 165-175 gram/sqm โครงสร้างผ้าชนิดนี้ยังสามารถทำเป็นแบบ peach dyed หมายถึงการทอผ้าแล้วนำไปย้อมสีทีหลัง หรือว่าอีกแบบก็ yarn dyed หมายถึงการย้อมเส้นด้ายก่อนนำไปทอ ซึ่งอาจทำเป็นลายริ้วหรือ ลาย stripe นั่นเอง
  4. Double knit 20/2 คือผ้า jersey ที่ทอออกมาแล้วด้านหน้ากับด้านหลังจะออกมาเหมือนกัน น้ำหนักมาตรฐานของโครงสร้างผ้าชนิดนี้จะอยู่ที่ 175-185 gram/sqm โครงสร้างผ้าชนิดนี้ เหมาะสำหรับการออกแบบในช่วงฤดูหนาว
  5. Rib 1×1 (เส้นด้ายเบอร์ 32) Rib บางท่านก็เรียกว่าหล่อบุ้ง ผ้าชนิดนี้ใช้เป็นผ้าส่วนประกอบปลายแขนและบริเวณคอเนื่องจากผ้ามี ความยืดหยุ่นสูงสามารถยืดออกและหดกลับเข้าสู่รูปแบบเดิมได้ทั้งนี้ผ้าประเภทนี้มีทั้งแบบธรรมดา และใส่ยาง หมายถึงผ้ายืดที่ทำการทอโดยการชักร่องของเส้นด้าย หนึ่งต่อหนึ่งช่อง
  6. Rib 2×2 (เส้นด้ายเบอร์ 20) หมายถึงการชักร่องของเส้นด้าย สองต่อสอง น้ำหนักมาตรฐานของผ้าชนิดนี้จะอยู่ที่ 165-175 gram/sqm เหมาะสำหรับทำเสื้อรัดรูปทุกชนิด และสามารถใช้เส้นด้าย spandex ผสมเข้าไปในการทอ ถ้าต้องการให้มีการยืดหยุ่นหรือการสปริงตัวเพิ่มมากขึ้น
  7. ผ้า 32/1,20/1 Spandex (two way) โครงสร้างผ้าชนิดนี้จะประกอบด้วยเส้นด้าย cotton 100 % ผสมกับเส้นด้าย spandex สามารถทำลายพิมพ์บนผ้าเลยก็ได้หรือผ้าพื้นธรรมดาก็ได้ เหมาะสำหรับทำเสื้อรัดรูปหรือ Body suit (ชุดว่ายน้ำ) กางเกงรัดรูปทั้งขาสั้นยาว หรือ dress รัดรูป ซึ่งคุณสมบัติที่ดีของผ้าชนิดนี้คือสามารถยืดได้ทั้งด้านกว้างและด้านยาว
  8. Top dyed คือผ้าที่ทอด้วยเส้นด้ายที่จะออกเป็นกระไม่ใช่สีเดียวกันทั้งเส้น เส้นด้ายจะออกสีกระผ้าก็ออกมาสีกระทั้งตัว ซึ่งโครงสร้างจะไม่ต่างจาก single jersey นักเพราะเส้นด้ายจะใช้เบอร์ 32/1,20/1 เหมือนกัน แต่จุดเด่นคือไม่ต้องย้อมสีอีก